ทำไมต้องกั้นให้บางพื้นที่น้ำไม่ท่วม? หรือให้ท่วมน้อย หรือให้บางพื้นที่แห้ง
ทั้งนี้เหตุผลนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ในทุกกรณี เสมอไป
จากแผนที่ข้างบน ถนนแจ้งวัฒนะตั้งแต่แยกหลักสี่ ไปจนถึงคลองประปา น้ำท่วมบนพื้นถนนสูง 50 – 80 ซม. รถเล็กผ่านไม่ได้ โดยเริ่มท่วมมาตั้งแต่ช่วงวันที่ ๓๐ ต.ค. มาจนถึงวันนี้ วันที่ ๘ พ.ย. ก็ยังท่วมอยู่ ที่ทำงานผมก็อยู่ติดกับศูนย์ราชการ แต่ตอนนี้ก็ยังไปทำงานได้ โดยมีการจัดรถขนาดใหญ่ รับ ส่ง พนักงานและชาวบ้าน จากหน้าศูนย์การค้า Makro ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของคลองประปาทางที่จะไปปากเกร็ด โดยสามารถที่จะเดินทาง ไปและกลับ เข้าเมืองได้จากทางด่วน ที่ขึ้น ลง ได้จากถนนแจ้งวัฒนะ
ดังนั้นเหตุผลก็คือ
เหตุผลแรกคือเรื่องการเดินทาง เรายังพอที่จะสัญจรไปมายังที่ต่าง ต่างได้ เช่น ที่ทำงาน ลองสมมุติว่าถ้าน้ำท่วมเป็นแนวยาวมาตลอดถนนแจ้งวัฒนะไปจนถึงปากเกร็ด สภาพการเดินทางจะลำบากแค่ไหนรถเล็กไม่สามารถลงจากทางด่วนได้ก็เป็นอันจบ จะไปต่อรถคันใหญ่ ต่อเรือ เพื่อไปทำงานก็ยิ่งลำบาก
ต่อเนื่องมาจากเรื่องของการเดินทางก็คือการส่งความช่วยเหลือต่าง ต่าง เข้าไปในพื้นที่น้ำท่วมก็จะยิ่งลำบากมากขึ้น การช่วยเหลือก็จะทำได้ไม่เต็มที่ หรือไม่ทั่วถึง หรือต้องใช้ระยะเวลานานมากขึ้น
เมื่อทุกอย่างหยุดชะงัก ก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปเรื่อย ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่มากขึ้นไปอีก เมื่อทุกคนไม่สามารถ หรือไม่ได้ทำหน้าที่ ที่ตนควรจะต้องทำ ลองคิดดูว่าถ้า วันนี้คนส่งน้ำไม่ยกน้ำกินมาส่งให้ในที่ทำงาน พนักงานที่ทำงานอยู่ในที่ทำงานก็จะมีปัญหาในเรื่องน้ำดื่ม หรือตอนนี้ในโรงอาหาร มีร้านอาหาร เปิดขายอยู่ ๓ ร้าน ซึ่งถ้าร้านเหล่านี้ไม่สามารถมาเปิดได้ หรือไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวแล้ว พนักงานที่มาทำงานจะกินอะไร สุดท้ายก็ไม่สามารถมาทำงานได้ ถ้าที่บ้านน้ำก็ท่วมอยู่แล้วไม่สามารถปรุงอาหารได้ ก็ยิ่งมีผลกระทบให้เห็นได้อย่างชัดเจน หรือถ้าพนักงานทำความสะอาดไม่มาทำงาน ที่ทำงานก็จะเปรอะเปื้อน นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างง่ายที่สุด ถ้านับรวมถึงผลกระทบขนาดใหญ่ถ้าองค์กรไม่สามารถทำงานขับเคลื่อนไปได้ ผลกระทบย่อมมีมากกว่าตัวอย่างที่ยกมานี้อย่างแน่นอน เช่น ถ้าท่านมีหนี้ต้องเก็บ หรือท่านรอรับเงินจากบริษัทที่ท่านไปขายของให้ แต่บริษัทดังกล่าวต้องหยุดงาน เพราะไม่มีคนมาทำงาน ธุรกิจของท่านก็ต้องได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว สิ่งเหล่านี้จะกระทบต่อเนื่องโดยผลกระทบก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร ประชากร พื้นที่ จำนวนหน่วยธุรกิจ แต่ผลจะขยายวงกว้างเหมือนกับปฏิกิริยาทางเคมี จาก ๑ เป็น ๒ จาก ๒ เป็น ๔ ไปเรื่อย ถ้าเป็นกราฟก็คงเป็นกราฟแบบ exponential นั่นคือผลกระทบต่อเนื่องแบบก้าวกระโดดกันเลยทีเดียว
แบบนี้ยังพอไปทำงานกันได้ โดยมีจุดรับส่งจากพื้นที่ใกล้เคียงที่ยังไม่ท่วมจากการป้องกัน
(ภาพประกอบของคุณต๋อม)
แบบนี้ก็ยังพอทำมาหากินกันได้ คนบ้านน้ำท่วมที่ปรุงอาหารไม่ได้ก็ยังมาซื้อกินได้
เอ็งก็พูดได้สิ บ้านเอ็งไม่ถูกท่วมเหมือนข้านี่
นั่นนะสิ อันนี้ก็บอกไปแล้วตั้งแต่ต้นว่าคงไม่ใช่เหตุผลที่จะใช้ได้ในทุกกรณี สุดท้ายแล้วถ้ามันจะท่วมมันก็ท่วม ก็อยู่กับมันไปให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะว่าไปแล้วบางที คนเมืองกรุงก็กะแดะซะจนน่าถีบในบางกรณี โวยวายตลาดแตก อะไรประมาณนั้น เท่าที่ผมสังเกตเห็น เดา เดาเอาว่า พวกนี้ไม่สามารถเอาตัวรอดหรือพอจะมีปัญญาเอาตัวรอดได้ อาจจะด้วยความสบาย ไม่เคยลำบาก หรือไม่เคยโดนน้ำท่วมมาก่อนอย่างผู้คนในต่างจังหวัด เช่น สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก ที่บ้านต้องโดนน้ำท่วมกันอยู่ทุกปี
บางทีก็นึกอยู่เหมือนกันว่า ถ้าคนในต่างจังหวัดเหล่านี้ มีสถานีโทรทัศน์เป็นของตัวเองถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ต่าง ของตัวเองได้ เราหรือพวกเขาคงจะมีละครเรื่อง “น้ำ” ของตัวเองดูกันทุกปี โดยไม่ต้องมาดูละคร “น้ำ(เน่า)” ของเมืองกรุงกันแบบทุกวันนี้
นี่ก็อีกเหตุผล http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321081089&grpid=no&catid=12